3 วิธีป้องกันและบรรเทาอาการปวดข้อมือ นิ้วโป้ง รีบจัดการก่อนจะสาย ฉบับคนทำงานออฟฟิศ

วิธีป้องกัน-บรรเทา-อาการปวดข้อมือ-นิ้วโป้ง-1

อาการปวดข้อมือ, ปวดข้อมือ นิ้วโป้ง นั้นพบได้บ่อยในผู้ที่ทำงานท่าทางเดิม ๆ ซ้ำๆ หรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยพบได้มากในผู้คนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ โดยตัวผู้เขียนเองก็เคยประสบพบเจอกับอาการปวดนี้มาแล้ว อาการการปวดข้อมือนั้นไม่ควรมองข้ามเพราะว่า ข้อมือนั้นเป็นอวัยวะสำคัญมากของร่างกาย ไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งใดในชีวิตประจำวันย่อมต้องมีการขยับข้อมือเสมอ อาการปวดเกิดขึ้นได้หลากหลายอาการ เช่นการปวดข้อมือขวา ปวดข้อมือ นิ้วโป้ง หรือข้อมืออักเสบ

วิธีป้องกัน-บรรเทา-อาการปวดข้อมือ-นิ้วโป้ง

อีกทั้งข้อมือยังเป็นอวัยวะที่มีความละเอียดอ่อนอีกด้วย โดยข้อมือนั้นประกอบไปด้วยเส้นเอ็นและเส้นประสาทมากมาย อาการปวดข้อมือก็มีหลายสาเหตุซึ่งแต่ละสาเหตุก็มีวิธีการรักษาแตกต่างกัน โดยสาเหตุอาการปวดข้อมือ มักจะเกิดจาก เส้นเอ็นมีปัญหา หรือความผิดปกติในเส้นประสาท ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคเรื้อรังที่ต้องรักษาในระยะยาว หรืออย่างเลวร้ายอาจต้องถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดที่ต้องเสียค่ารักษาจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันอาการปวดข้อมือไว้แต่เนิ่นๆ ในขณะที่ตัวเรายังไม่มีอาการ หรือเพิ่งเริ่มมีอาการเล็กน้อย

แต่ถ้ามีอาการเจ็บปวดข้อมือดังนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
– ไม่สามารถขยับข้อมือได้
–  มีอาการเจ็บปวดมาก 
– ไม่มีความรู้สึกที่ข้อมือและชาตลอดเวลา 
– ข้อมือมีอาการบวมมากขึ้น 
– อาการผิดปกติอื่นๆ อย่างไข้สูง
 

3 วิธีป้องกันและรักษา อาการปวดข้อมือ นิ้วโป้ง

อาการปวดข้อมือของคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้นมักเกิดจาก การใช้แป้นพิมพ์ หรือการใช้งานเมาส์ในท่าที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆเป็นเวลานาน และนี้คือสามวิธีป้องกันอาการปวดข้อมือที่เราขอมานำเสนอ 
 

1. จัดโต๊ะทำงานให้มีพื้นที่บนโต๊ะและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

จัดโต๊ะทำงาน-แก้ปวดข้อมือ

การจัดโต๊ะทำงานให้ดีนั้นสำคัญมากกับคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เพราะอุปกรณ์เช่นเก้าอี้ โต๊ะ ตำแหน่งจอคอมนั้นมีผลต่อการจัดวางสรีระของเราโดยตรง โต๊ะทำงานที่จัดวางอุปกรณ์ไม่ดี หรือมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักไม่ถูกต้องจนอาจเกิดความเสี่ยงต่ออาการปวดข้อมือ เพื่อห่างไกลอาการปวดข้อมือเราสามารถทำได้ดังนี้

  • เก็บของบนโต๊ะทำงานไม่ให้รก เมื่อโต๊ะทำงานสะอาดเราจะมีพื้นที่ในการขยับเมาส์ได้อย่างอิสระ และสามารถหยิบของจำเป็นเช่นเอกสารโดยไม่ทำให้แขน ข้อมือ หรือไหล่ทำงานหนักผิดท่า
  • ตั้งตำแหน่งจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่พอดีกับระดับสายตา โดยแขนควรจะขนานกับพื้น การที่จอคอมพิวเตอร์ อยู่ต่ำกว่าระดับสายทำให้ต้องก้มคอ และอาจทำให้ไหล่ห่อส่งผลไปถึงการทำให้แขนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมและลงน้ำหนักที่ข้อมือได้ โดยวิธีการคือจะเอากล่องมาตั้งซ้อนกันให้จออยู่ในระดับสายตา หรือใช้ขาตั้งจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้จอคอมพิวเตอร์ อยู่ตรงกับระดับสายตาก็ได้
  • ใช้เก้าอี้ Ergonomic ที่มีพนักวางแขน ตอนทำงานเราควรหลีกเลี่ยงการวางข้อมือกับโต๊ะและลงน้ำหนักไปที่ข้อมือตรงๆ โดยตำแหน่งของข้อศอกควรอยู่ติดกับข้างลำตัว
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจัดโต๊ะทำงาน ได้

ตัวอย่างรายการของ

2. ใช้เมาส์ Ergonomic และ Keyboard Ergonomic หรืออุปกรณ์ช่วย support ข้อมือ

mouse-ergonomic-ที่รองข้อมือ
mouse-ergonomic-ที่รองข้อมือ-2
  • ที่รองข้อมือขณะพิมพ์หรือใช้ Mouse ก็สามารถช่วยผ่อนน้ำหนักที่ลงที่ข้อมือได้เยอะ
  • Ergonomic Mouse สามารถช่วยจัดตำแหน่งของข้อมือและนิ้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสม โดยสำหรับคนที่ปวดข้อมืออยู่แล้ว Ergonomic Mouse จะช่วยทำให้เราหักหรือเอียงข้อมือน้อยลง และช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการปวดได้
  • Ergonomic Keyboard ช่วยจัดท่าทางการพิมพ์ให้เหมาะสมและไม่ทำให้ข้อมือรับน้ำหนักมากเกินไป
 

3. บริหารข้อมือเป็นประจำ

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงอาการปวดข้อมือ ไม่ว่าจะปวดข้อมือ นิ้วโป้ง หรือปวดข้อมือบริเวณอื่นๆ เราควรทำการบริหารข้อมือโดยทำการยืดเหยียดเป็นประจำโดยท่าบริหารที่เรานำมาเสนอสามารถทำได้ตลอดเวลาที่นั่งทำงาน

บริหารข้อมือโดย การกดมือลงด้วยกัน

บริหารข้อมือ-กดมือลงด้วยกํน

พนมมือและออกแรงกดข้อมือทั้งสองลง โดยควรกดข้างไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 วินาที

หมุนข้อมือทั้งสองข้าง ตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา

กำมือทั้งสองข้างไว้ด้วยกันและหมุนข้อมือ ตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ท่าบริหารนี้ควรหมุนติดต่อกันเป็นเวลา 10 วินาที

บริหารข้อมือโดยการ สะบัดมือ

บริหารข้อมือสะบัดมือ

สะบัดมือทั้งสองข้างพร้อมกัน และสะบัดต่อเนื่องกันประมาณ 10 วินาที

บริหารข้อมือโดยการ กำมือและแบมือ

กำมือและแบมือสลับกัน พยายามออกแรงที่มือให้มากขึ้นขณะกำและแบมือ ทำติดต่อกันเป็นเวลา 10 วินาทีต่อเนื่อง

ยืดข้อมือด้านซ้าย และด้านขวา

บริหารข้อมือ-ยืดข้อมือ-2
บริหารข้อมือ-ยืดข้อมือ-1

ยืดแขนข้างขวาไปด้านหน้าและจับข้อมือด้านขวาด้วยการเอาแขนข้างซ้ายไว้ด้านล่างแขนขวาและจับข้อมือขวาด้วยมือข้างซ้าย และทำสลับกันโดยใช้มืออีกข้างเช่นเดิมทำค้างไว้อย่างน้อย 10 วินาที

ใช้ Application ที่จะช่วยให้บริหารร่างกายในเวลาที่เหมาะสม

ดาวน์โหลด application “Ergonomic Productivity Timer” ได้โดย application นี้ทางเพจเราได้สร้างขึ้นมาเอง สามารถใช้ได้ทั้ง บน Android และ iOS ตัว Application จะใช้ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมห่างไกล office syndrome โดยการใช้งานก็ไม่ยากเพียงแค่

1. เลือกงานที่จะทำ โดยกำหนดงานนั้นให้ชัดเจน
2. กดเริ่มการจับเวลาและทำงานเป็นเวลาประมาน 25 นาที
3. เมื่อมีการแจ้งเตือน หยุดพักและทำการยืดเหยียดร่างกาย
 
ถ้าหากรู้สึกว่าไม่มีสมาธิทำงาน หรือ อยากป้องกันโรค office syndrome ก็โหลดมาใช้กันได้เลย
แอปแก้ปวดข้อมือ-1
แอปแก้ปวดข้อมือ-2
พัฒนาการเขียนโปรแกรม

10 คีย์บอร์ด โน๊ตบุ๊ค ยกระดับประสบการณ์การทำงานดั่งมืออาชีพ

คุณเบื่อกับการพิมพ์ คีย์บอร์ด โน๊ตบุ๊ค ที่แคบและอึดอัดหรือไม่? คุณพบว่าตัวเองพิมพ์ผิดบ่อยหรือมีปัญหาในการพิมพ์อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหรือไม่? ถ้าใช่ ก็ถึงเวลาพิจารณาการลงทุนซื้อคีย์บอร์ดเพิ่มเติมสำหรับโน๊ตบุ๊คของคุณ ต่อไปนี้เป็นข้อดีที่มาพร้อมกับการเพิ่มแป้นพิมพ์พิเศษให้กับโน๊ตบุ๊คของคุณ การทำงานโดยมี คีย์บอร์ด...

Read More
จอ Monitor Dell U2520D-เขียนโปรแกรม

7 จอ โน๊ตบุ๊ค ยอดเยี่ยม ทำงานก็ดีเล่นเกมส์ก็ได้

คุณเบื่อที่ต้องสลับไปมาระหว่างหน้าต่างและโปรแกรมต่างๆบนโน๊ตบุ๊คของคุณ? และคุณมีปัญหาในการทำงานหลายอย่างพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าคุณจะเล่นเกม ดูหนัง หรือทำงานต่างๆหรือเปล่า? ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ถึงเวลาพิจารณาการลงทุนซื้อ จอ โน๊ตบุ๊ค เพิ่มกันแล้วล่ะ...

Read More
notebook-เขียนโปรแกรม

8 รุ่น โน๊ตบุ๊คทํางาน – เขียนโปรแกรม รุ่นใหม่ ปี 2023

บทความนี้เรามาแนะนำโน๊ตบุ๊คทํางาน หรือ เขียนโปรแกรมกัน ในปี 2023 นี้เรียกได้ว่าต้องใช้โน๊ตบุ๊คทำงานแทบทุกอย่าง เรียกว่าแทบทุกอาชีพในสายงาน Office ในโลกยุคปัจจุบันจะขาดอุปกรณ์อย่างโน๊ตบุ๊คไปไม่ได้เลย หากจะบอกว่าสำคัญยิ่งกว่า...

Read More
เมาส์ไร้สาย 2023

เมาส์ไร้สาย ยี่ห้อไหนดี 2023 ? 5 เมาส์ไร้สาย ถนอมข้อมือ

เมาส์ไร้สาย ยี่ห้อไหนดี? 5 รายการ เมาส์ถนอมข้อมือ เวลาจะเลือกซื้อเมาส์ หลายๆคนคงมีคำถามว่า เราควรจะใช้ เมาส์ไร้สาย ยี่ห้อไหนดี...

Read More